Wireframe คืออะไร
เมื่อพูดถึงการทำเว็บไซต์หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ เรามักจะนึกถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ได้เว็บไซต์ตามที่เราต้องการ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือการออกแบบ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นจะตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เราจึงจำเป็นต้องมี Wireframe
Wireframe คือ โครงสร้าง แผนผัง หรือพิมพ์เขียว ซึ่งจะช่วยในการออกแบบและจัดองค์ประกอบของหน้าจอของเว็บไซต์หรือซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้งาน ผู้ออกแบบและผู้พัฒนาเห็นภาพและเข้าใจภาพรวมตรงกัน ซึ่งการทำ Wireframe จะช่วยลดปัญหาในเรื่องของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและเป็นข้อตกลงร่วมกันก่อนที่จะลงมือพัฒนาโปรแกรม
ระดับของ Wireframe (Wireframe Level)
Wireframe แบ่งเป็น 3 level ดังนี้
· Low-fidelity wireframes: เป็นการออกแบบหรือเขียนแบบคร่าวๆ เช่น การเขียนลงในกระดาษ
· Medium-fidelity wireframes: จะมีความละเอียดมากขึ้น เช่น มีการลงตำแหน่ง รายละเอียดการจัดวางในหน้าจอ
· High-fidelity wireframes: เป็นการออกแบบที่เสมือนจริง มีการใส่รายละเอียดอย่างครบถ้วนหรือใกล้เคียงกับหน้าจอที่สมบูรณ์มากที่สุด
Wireframe คือ แผนผัง โครงสร้าง ภาพรวม พิมพ์เขียว การจัดองค์ประกอบของ Interface บางคนอาจเรียกว่า Mockup เพื่อให้ผู้ออกแบบ ผู้เขียนโปรแกรมและผู้ใช้งาน มีความเข้าใจในภาพรวมของระบบตรงกัน โดยผู้ใช้งานสามารถออกความเห็นหรือปรับแก้หรือรวมไปถึงทำข้อตกลงกันก่อนที่จะลงมือพัฒนาโปรแกรมต่อไป
เครื่องมือที่นิยมใช้ทำ (Wireframe Tools)
ในการพัฒนาหรือทำ Wireframe นั้นมีเครื่องมือให้เลือกใช้ได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความถนัดและความสะดวกในการใช้งานของผู้ทำ ซึ่งจะมีเครื่องมือทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
1. เครื่องมือแบบออนไลน์ ได้แก่
– Cacoo
– Jumpchart
– FrameBox
– iPlotz
– MockFlow
– Google Docs
2. เครื่องมือแบบออฟไลน์ ได้แก่
– Microsoft Visio
– OmniGraffle
– Adobe Photoshop
– Adobe Firework
– Pencil Project
– Justinmind