Skip to content
Home » Low-Code คืออะไร

Low-Code คืออะไร

รับเขียนโปรแกรม Low-Code

ในปัจจุบันโลกและสังคมของเราถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีต่างๆมากมาย ซึ่งในการพัฒนาระบบต่างๆ นั้นจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมเมอร์ซึ่งเป็นผู้ที่จะเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบ แต่ในปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนโปรแกรมเมอร์ในตลาดแรงงาน ไม่ใช่เพียงเฉพาะประเทศไทยแต่รวมไปถึงในอีกหลายๆประเทศด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า 1 ในสาเหตุหลักที่ทำให้โปรแกรมเมอร์ขาดแคลนในตลาดแรงงานนั้นก็เพราะว่าการเขียนโปรแกรมจำเป็นจะต้องใช้ทักษะและความรู้ความเข้าใจพอสมควร ยังไม่รวมถึงภาษาโปรแกรมมิ่งต่างๆที่โปรแกรมเมอร์ใช้เขียนเพื่อพัฒนาระบบที่มีความแตกต่างกันออกไปอีกมากมาย นั้นจึงทำให้แม้ในทุกๆปีจะมีนักศึกษาที่จบจากคณะที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมโดยตรง แต่ก็ใช้ว่านักศึกษาเหล่านี้จะเหลือเป็นโปรแกรมเมอร์ทุกคนและนี้จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมปัจจุบันเราจึงพบว่าโปรแกรมเมอร์นั้นขาดแคลนมาก

 

Low-Code คืออะไร
ก่อนที่เราจะพูดถึงว่า Low-Code คืออะไร เราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า เอ๊ะ แล้วปัจจุบันโปรแกรมเมอร์เขาเขียนโปรแกรมกันอย่างไร เดิมการเขียนโปรแกรมจะเป็นการเขียนที่เรียกว่า High-Code ซึ่งก็คือการเขียนโปรแกรมด้วย Syntax ของภาษานั้นๆ ที่เราเลือกนำมาใช้เพื่อพัฒนาระบบหรือโปรแกรม ซึ่งการเขียนด้วย High-Code นั้นก็จะมีความยาก ความซับซ้อนและเทคนิคการเขียนที่หลากหลายตามแต่ละภาษาที่เราเลือกใช้ ซึ่งนั้นทำให้การพัฒนาระบบต้องใช้ระยะเวลาที่นาน โปรแกรมเมอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้นในการจดจำรูปแบบการเขียนและ Syntax หรือคำสั่งต่างๆ ของภาษานั้นๆ

เมื่อการเขียนโปรแกรมด้วย High-Code ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว จึงมีการคิดค้นการพัฒนารูปแบบการพัฒนาโปรแกรมแบบ Low-Code ขึ้นมาเพื่อช่วยโปรแกรมเมอร์ในการลดปริมาณโค้ดที่ต้องเขียน ลดระยะเวลาในการพัฒนาให้สั้นลง

 

Low-Code ทำงานอย่างไร

ในการพัฒนาโปรแกรมนั้นเราจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ User Interface(ส่วนติดต่อผู้ใช้), Backend(ส่วนหลังบ้าน) และ Database(ส่วนเก็บข้อมูล)

  1. การเขียนโปรแกรมด้วย Low-Code จะเริ่มจากส่วนที่เป็น Database หรือ ฐานข้อมูล ซึ่งเราจะต้องออกแบบฐานข้อมูลให้รองรับกับการจัดเก็บข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ และนี้ถือเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาส่วนอื่นๆต่อไป
  2. เมื่อระบบรู้แล้วว่ามีข้อมูลใดบ้างที่ต้องจัดเก็บแล้ว เราก็จะมาในส่วนของการทำ Backend หรือส่วนของการเขียนโปรแกรมเพื่อ ดึงข้อมูล บันทึกข้อมูล หรือจัดการข้อมูล ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้การเขียนโค้ดหรือเขียนโปรแกรม แต่ Low-Code จะแตกต่างกันออกไป โดย Low-Code จะใช้รูปแบบการสั่งการทำงานด้วยการวาด Flowchart เพื่อกำหนดการทำงานต่างๆของโปรแกรม เมื่อใช้งานโปรแกรมจริงระบบก็จะนำ Flowchart ที่เราสร้างไว้มาใช้ในการกำหนดรูปแบบการใช้งานหรือทำงานตามเงื่อนไขที่เรากำหนดใน Flowchart นั้นเอง
  3. สุดท้ายก็จะเป็นในส่วนของ User Interface หรือส่วนของการแสดงผล ซึ่งส่วนนี้หากเป็น High-Code ก็จะใช้วิธีการเขียนโค้ดหลายๆบรรทัดเพื่อให้แสดงผลออกมาตามที่ต้องการ แต่หากเป็น Low-Code เราสามารถลากวาง หรือ Drag&Drop เครื่องมือหรือสิ่งที่เราต้องการแสดงผลได้เลยทันทีแบบง่ายๆ นั้นเอง

 

สรุปก็คือ Low-Code คือเครื่องมือที่จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์ทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และลดปริมาณการเขียนโค้ดได้อย่างมาก แต่ทั้งนี้เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ เราอาจจะยังต้องติดตามกันต่อไปว่า เมื่อมีการนำ Low-Code เข้ามาใช้กันอย่างจริงจังและแพร่หลายมากขึ้น เจ้าเครื่องมือชนิดนี้จะช่วยเราได้มากน้อยเพียงใด หรือมีส่วนใดที่ Low-Code ไม่สามารถเข้าไปแทนที่ High-Code ได้บ้าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

COPYRIGHT © 2021 DEVDEVA COMPANY LIMITED ALL RIGHTS RESERVED